วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความบกพร่องทางการเรียนรู้

สาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนรู้ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อให้เกิดปัญหาการเรียนเนื่องมาจากเด็กไม่สามารถเรียนได้ดีเท่ากับเด็กปกติ ทั่วไป การค้นหาความบกพร่องของเด็กส่วนมากเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางสาธารณสุข บุคลากรทางการศึกษาอาจจำเป็นต้องรับรู้ไว้ เพื่อจะได้หาทางจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับกับปัญหาของเด็กต่อไป สาเหตุของความบกพร่องนี้อาจจำแนกได้ดังนี้
1. การได้รับบาดเจ็บทางสมอง บุคลากรทางการแพทย์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในหลาย ประเทศ มีความเชื่อว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถเรียนได้ดีนั้น เนื่องมาจากการได้รับบาดเจ็บทางสมอง (Brain Damage) อาจจะเป็นการได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอดก็ได้ การบาดเจ็บนี้ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ อย่างไรก็ตามการได้รับบาดเจ็บอาจไม่รุนแรงนัก (Minimal brain dysfunction) สมองและระบบประสาทส่วนกลางยังทำงานได้ดีเป็นส่วนมาก มีบางส่วนเท่านั้นที่มีความบกพร่องไปบ้าง ทำให้เด็กมีปัญหาในการรับรู้ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของเด็ก แต่ปัญหานี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับทั้งหมด เพราะเด็กบางคนอาจเป็นกรณียกเว้นได้
2. กรรมพันธุ์ งานวิจัยจำนวนมากระบุตรงกันว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้บางอย่างสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจากการศึกษาเป็นรายกรณีพบว่า เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้บางคน อาจมีพี่น้องเกิดจากท้องเดียวกัน มีปัญหาทางการเรียนรู้เช่นกันหรืออาจมีพ่อแม่ พี่ น้อง หรือญาติใกล้ชิดมีปัญหาทางการเรียนรู้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในการอ่าน การเขียน และการเข้าใจภาษา มีรายงานการวิจัยที่น่าเชื่อถือได้ว่า เด็กฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดี่ยวกัน (Identical Twin) มีพบว่าฝาแฝดคนหนึ่งมีปัญหาในการอ่านฝาแฝดอีกคนมักมีปัญหาในการอ่านเช่น เดียวกัน แต่ปัญหานี้ไม่พบบ่อยนักสำหรับฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ (Fraternal Twin) จึงอาจโดยสรุปได้ว่าปัญหาในการเรียนรู้อาจสืบทอดทางพันธุกรรมได้
3. สิ่งแวดล้อม สาเหตุทางสภาพสิ่งแวดล้อมนี้ หมายถึง สาเหตุอื่น ๆ ที่มาใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง และกรรมพันธุ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กภายหลังการคลอด เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น การที่เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้าด้วยสาเหตุบางประการ การที่ร่างกายได้รับสารบางประการอันเนื่องมาจากสภาพมลพิษในสิ่งแวดล้อม การขาดสารอาหารในวัยทารกและในวัยเด็ก การสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพของครู ตลอดจนการขาดโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น แม้ว่าองค์ประกอบทางสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิดความ บกพร่องทางการเรียนรู้โดยตรง แต่องค์ประกอบเหล่านี้อาจทำให้สภาพการเรียนรู้ของเด็กมีความบกพร่องมากขึ้น ปัญหาและความบกพร่องของเด็กกลุ่มนี้จะเริ่มสังเกตเห็นได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้า เรียนแต่ภาวะปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนก็เพียงแต่มีปัญหา เกี่ยวการเรียนรู้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น เขียนตัวหนังสือโย้ไปเย้มา อ่านคำตก ๆ หล่น ๆ มีความสับสนระหว่าง ภ กับ ถ” “ b กับ d ” แต่บางคนก็มีปัญหามากมายจนส่งผลให้เกิด ความยุ่งยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและกระทบไปถึงผู้คนรอบข้างด้วย นักจิตวิทยาและนักการศึกษาเชื่อว่า ภาวะที่ความสามารถในการเรียนของบุคคล หรือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ต่ำกว่าความสามารถตามอายุ ระดับการศึกษา และระดับสติปัญญา
 ลักษณะพบในเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ อย่างหยาบ ๆ ที่พอสังเกตได้ คือ
       1. ดูฉลาดหรือปกติในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเรียน
                2. สะกดคำไม่ได้หรือไม่ถูก
                3. อ่านช้า อ่านข้าม หรืออ่านเพิ่มคำ
                4. สับสนกับตัวอักษร เช่น ค - ด, , , , b – d, p – q, 6 - 9 ฯลฯ
                5. ไม่เข้าใจค่าของจำนวน เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน ....
                6. มีความบกพร่องในการรับรู้ การจับใจความ
                7. ผลการเรียนไม่คงเส้นคงวา
                8. มีอารมณ์ไม่คงที่ แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ   ฯลฯ
ทั้งนี้ทั้งนั้นสาเหตุบางประการอาจจะเป็นตัวบ่งชี้ไม่ได้ว่า เด็กคนดังกล่าวจะเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ต้องมีเกณฑ์การพิจารณาที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือกระทรวงศึกษาธิการ หากตัดสินจากเพียงสาเหตุเดียว แล้วเด็กคนนั้นต้องเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ แต่ที่จริงแล้วเด็กคนดังกล่าวไม่ได้เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กคนนั้นอาจจะไม่ได้รับการพัฒนาและอาจจะส่งผลกระทบทางด้านสติปัญญาเท่าที่ ควรตามที่เด็กควรจะได้รับ
ประเภทของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ อาจจำแนกได้หลายประเภทนักวิชาการศึกษาพิเศษอาจจัดหมวดหมู่ของเด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ปัญหาในการเรียนรู้อาจแฝงอยู่ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือแม้แต่เด็กปัญญาเลิศบางคน เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ อาจจำแนกประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของปัญหาในการเรียนของเด็กได้ดังนี้                                                                                                                          
1.   ความบกพร่องทางการฟังและการพูด เด็กเหล่านี้อาจแสดงพฤติกรรมทางการพูดดังนี้        
1. มีพัฒนาการทางการพูดล่าช้า                                                                                                         2. ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ทางภาษา                                                                                                                                      3. รู้คำศัพท์น้อย                                                                                                                          4. จำแนกเสียงพูดไม่ได้                                                                                                                                             5. ใช้อวัยวะในการพูดไม่ถูกต้องทำให้พูดไม่ชัด                                                                                                 6. รู้ว่าจะพูดอะไร แต่พูดออกมาเป็นคำพูดไม่ได้                                                                                                                          7. ไม่เข้าใจคำพูดของคนอื่น                                                                                                                              8. พูดไม่เป็นประโยค                                                                                                                         9. พูดไม่ถูกหลักภาษาไทย                                                                                                                       10. ใช้คำศัพท์ไม่ตรงกับความหมายที่จะพูด                                                                                                              11. พูดแล้วคนอื่นฟังไม่รู้เรื่อง                                                                                                                   12. ไม่เข้าใจโครงสร้างทางภาษา
เด็กบางคนอาจมีปัญหาเพียงเล็กน้อย บางคนอาจมีปัญหามากในระดับที่รุนแรงแตกต่างกันไปตามสภาพความบกพร่องทางการ ฟังและการพูดนี้เรียกว่า อะเฟเซีย (Aphasia) เด็กที่มีปัญหาเช่นนี้เรียกว่า เด็กอะเฟเซีย (Aphasia Child) ความผิดปกติในการฟังและการพูดของเด็กอะเฟเซีย เป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บทางสมอง (Brain Damage) อย่างไรก็ตามเด็กบางคนอาจพูดไม่ชัด เช่น การพูดด้วยเสียงขึ้นจมูก การพูดติดอ่างหรือการพูดไม่ชัดของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ความบกพร่องทางการพูดไม่จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวนี้ เพราไม่เป็นอาการของการไม่เข้าใจสัญลักษณ์ทางภาษา คำศัพท์ และโครงสร้างของประโยคเหมือนเด็กกลุ่มนี้
2.   ความบกพร่องทางการอ่าน เด็กที่มีปัญหาในการอ่านอาจมีพฤติกรรมดังนี้
1. จำอักษรไม่ได้ ทำให้อ่านเป็นคำไม่ได้                                                                                     2. จำอักษรได้บ้าง แต่อ่านเป็นคำไม่ได้                                                                                              3. ระดับความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเรียนเดียวกัน                                                                 4. ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบเชาว์ปัญญาที่เชื่อถือได้             5. เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา                                                                                               6. เด็กบางคนอาจมีความไวในการฟัง                                                                                                      7. พูดไม่เป็นประโยค                                                                                                                          8. เด็กสามารถเข้าใจภาษาได้ดี หากเด็กฟังหรือมีคนอ่านหนังสือให้ฟัง หรือฟังจากเทป แต่ถ้าให้อ่านเองเด็กจะอ่านไม่ได้ อ่านไม่เข้าใจหรือจับใจความไม่ได้                                                                                                 9. อ่านคำโดยสลับตัวอักษร เช่น กบ เป็น บก มอง เป็น ของ ยอด เป็น ดอย กาบ เป็น บาก เป็นต้น                                  10. ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน มาหลังตัวอักษรใดอยู่ซ้ายหรือขวา                                                         11. ไม่สามารถแยกเสียงสระในคำได้ เช่น แมลง อ่านว่า แม ลง หรือ มะ แลง ลง เด็กกลุ่มนี้มีศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เด็กที่มีปัญหาในการอ่านเรียกว่า เด็กดิสเล็กเซีย (Dyslexia Child) เด็กแต่ละคนจะมีพฤติกรรมดังกล่าวมากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป
3.   ความบกพร่องทางการเขียน การเขียนเป็นทักษะสูงสุดในกระบวนการทางภาษา ซึ่งประกอบด้วยทักษะในการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน การเขียนเป็นการแสดงออก ซึ่งแนวความคิดของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนจะต้องนำคำในภาษามาร้อยเรียงกันอย่างเป็นระบบและถูกต้องตามหลัก ภาษาไทย เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้มักมีความบกพร่องในการเรียงลำดับซึ่งเป็นสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เด็กไม่สามารถเขียนหนังสือได้ เด็กที่มีความบกพร่องในการเขียน อาจแสดงพฤติกรรมในการเขียนดังนี้                                                                                                       


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น